Thursday, April 16, 2020

ปโลภสูตร: บอกถึงสาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีจำนวนลดน้อยลง



ปโลภสูตร อังคุตตรนิกาย ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ 20  เป็นบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพราหมณ์ผู้หนึ่ง มีสาระสำคัญพอสรุปได้ 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้

1. พราหมณ์มหาศาล (พราหมณ์มีฐานะมั่งคั่ง) เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับแล้วกราบทูลว่า แต่ก่อนเขาได้ยินได้ฟังมาจากคนรุ่นก่อน ๆ ว่า มีมนุษย์ตามที่ต่างๆล้นหลามมากมาย และเขาต้องการทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้คนที่เคยมีจำนวนมากมีสภาพแออัดยัดเยียดในหมู่บ้าน ในย่านร้านค้า ในจังหวัดและในเมืองหลวงตามสถานที่ต่างๆแต่บัดนี้มีจำนวนนลดน้อยลงแทบจะเรียกว่าเป็นย่านหมู่บ้านร้าง เป็นย่านร้านค้าร้าง เป็นย่านจังหวัดร้าง เป็นย่านเมืองหลวงร้าง ที่เป็นเช่นนี้มีสาเหตุมาจากอะไร  

2. พระพุทธเจ้าตรัสตอบ พราหมหมณ์มหาศาลไปว่า ทุกวันนี้เนื่องจากมนุษย์ไม่ประพฤติปฏิบัติตัวอยู่ในศีลธรรมอันดี กล่าวคือ 1) มีความกำหนัดเกินพอดี (อธมฺมราครตฺตา)  2) มีความโลภเกินพอดี (วิสมโลภาภิภูตา) และ 3) มีความเห็นผิดเกินพอดี (มิจฺฉาธมฺมปเรตา)  


ธรรมชาติก็จึงได้ลงโทษบันดาลให้เกิดภัย 3 อย่าง ทำให้มนุษย์ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก คือ

1) ทุพภิกขภัย  ธรรมชาติลงโทษบันดาลให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าเสียหายผลิตผลไม่เพียงพอเลี้ยงมนุษย์ เป็นสาเหตุให้มนุษย์ล้มตายกันมาก เป็นกระแสที่หนึ่ง

2) ภัยสงคราม  มนุษย์หยิบจับอาวุธประหัตประหารกัน ทำให้มนุษย์ล้มตายกันมาก เป็นกระแสที่สอง

3) ภัยจากโรคระบาด  ยักษ์นำอมนุษย์มาปล่อยลงในโลกมนุษย์ ทำให้มนุษย์ล้มตายกันมาก เป็นกระแสที่สาม

3. พราหมณ์มหาศาล พอได้ฟังคำเฉลยจากพระพุทธเจ้า ในตอนท้ายของ ปโลภสูตร มีข้อความระบุถึงคำกราบทูลของพราหมณ์ว่า เขามีความพอใจในคำเฉลยนั้น และเขาได้แสดงตนเป็นพุทธมากะจนตลอดชีวิต
------------------------------------------------------

ปโลภสูตร

ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาต่อบุรพพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า แต่ก่อนโลกนี้  ย่อมหนาแน่นด้วยหมู่มนุษย์เหมือนอเวจีมหานรก บ้านนิคมชนบทและราชธานี มีทุกระยะไก่บินตก ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป ปรากฏว่ามีน้อย แม้บ้านก็ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็นนคร แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบทฯลฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ทุกวันนี้ มนุษย์กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดผิดธรรมถูกความโลภไม่สม่ำเสมอครอบงำประกอบด้วยมิจฉาธรรมมนุษย์เหล่านั้นกำหนัดแล้วด้วย ความกำหนัดผิดธรรม ถูกความโลภไม่สม่ำเสมอครอบงำประกอบด้วยมิจฉาธรรม ต่างก็ฉวยศัสตราอันคมเข้าฆ่าฟันกันและกันเพราะฉะนั้น มนุษย์จึงล้มตายเสียเป็นอันมาก ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป ปรากฏว่ามีน้อย แม้บ้านก็ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็นนคร แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท ฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ทุกวันนี้ มนุษย์กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดผิดธรรมถูกความโลภไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยมิจฉาธรรมเมื่อมนุษย์เหล่านั้นกำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดผิดธรรม ถูกความโลภไม่สม่ำเสมอครอบงำประกอบด้วยมิจฉาธรรม ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฉะนั้น จึงเกิดทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสีย เป็นเพลี้ย ไม่ให้ผล เพราะเหตุนั้นมนุษย์จึงล้มตายเสียเป็นอันมาก ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องทำให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป ปรากฏว่ามีน้อย แม้บ้านก็ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็นนครแม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท ฯ

ดูกรพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ทุกวันนี้ มนุษย์กำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดผิดธรรมถูกความโลภไม่สม่ำเสมอครอบงำ ประกอบด้วยมิจฉาธรรมเมื่อมนุษย์เหล่านั้นกำหนัดแล้วด้วยความกำหนัดผิดธรรม ถูกความโลภไม่สม่ำเสมอ ครอบงำประกอบด้วยมิจฉาธรรม พวกยักษ์ปล่อยอมนุษย์ที่ร้ายกาจลงไว้เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงล้มตายเสียเป็นอันมาก ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย  เครื่องทำให้มนุษย์ทุกวันนี้หมดไป ปรากฏว่ามีน้อย แม้บ้านก็ไม่เป็นบ้าน แม้นิคมก็ไม่เป็นนิคม แม้นครก็ไม่เป็นนคร แม้ชนบทก็ไม่เป็นชนบท ฯ

พราหมณ์มหาศาลนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่
วันนี้เป็นต้นไป ฯ

 [๔๙๖]   อถโข  อญฺญตโร  พฺราหฺมณมหาสาโล  เยน  ภควา เตนุปสงฺกมิ   ฯเปฯ   เอกมนฺตํ   นิสินฺโน  โข  โส  พฺราหฺมณมหาสาโล ภควนฺตํ   เอตทโวจ   สุตมฺเมตํ   โภ   โคตม   ปุพฺพกานํ  พฺราหฺมณานํ วุฑฺฒานํ   มหลฺลกานํ   อาจริยปาจริยานํ   ภาสมานานํ   ปุพฺพสฺสุทํ   อยํ โลโก   อวีจิ   มญฺเญ   ผุโฏ   โหติ   มนุสฺเสหิ  กุกฺกุฏสมฺปาติกา คามนิคมชนปทราชธานิโยติ  โก  นุ  โข  โภ  โคตม  เหตุ  โก ปจฺจโย เยเนตรหิ   มนุสฺสานํ   ขโย  โหติ  ตนุตฺตํ  ปญฺญายติ  คามาปิ  อคามา โหนฺติ   นิคมาปิ   อนิคมา   โหนฺติ  นคราปิ  อนครา  โหนฺติ  ชนปทาปิ อชนปทา   โหนฺตีติ     

เอตรหิ   พฺราหฺมณ  มนุสฺสา  อธมฺมราครตฺตาวิสมโลภาภิภูตา  มิจฺฉาธมฺมปเรตา  เต  อธมฺมราครตฺตา  วิสมโลภาภิภูตา มิจฺฉาธมฺมปเรตา    ติณฺหานิ    สตฺถานิ   คเหตฺวา   อญฺญมญฺญสฺส  ชีวิตา    โวโรเปนฺติ   เตน   พหู   มนุสฺสา   กาลํ   กโรนฺติ   อยํปิ โข   พฺราหฺมณ   เหตุ   อยํ   ปจฺจโย   เยเนตรหิ   มนุสฺสานํ   ขโย โหติ    ตนุตฺตํ    ปญฺญายติ    คามาปิ    อคามา    โหนฺติ   นิคมาปิ อนิคมา    โหนฺติ    นคราปิ   อนครา   โหนฺติ   ชนปทาปิ   อชนปทาโหนฺติ   ฯ  

ปุน    ปรํ  พฺราหฺมณ  เอตรหิ  มนุสฺสา  อธมฺมราครตฺตา วิสมโลภาภิภูตา  มิจฺฉาธมฺมปเรตา เตสํ อธมฺมราครตฺตานํ วิสมโลภาภิภูตานํ มิจฺฉาธมฺมปเรตานํ     เทโว        สมฺมา    ธารํ    อนุปฺปเวจฺฉติ เตน   ทุพฺภิกฺขํ   โหติ   ทุสฺสสฺสํ   เสตฏฺฐิกํ   สลากาวุตฺตํ   เตน  พหู มนุสฺสา   กาลํ   กโรนฺติ   อยํปิ   โข   พฺราหฺมณ  เหตุ  อยํ  ปจฺจโย เยเนตรหิ    มนุสฺสานํ    ขโย    โหติ   ตนุตฺตํ   ปญฺญายติ   คามาปิ อคามา   โหนฺติ   นิคมาปิ   อนิคมา   โหนฺติ  นคราปิ  อนครา  โหนฺติชนปทาปิ  อชนปทา  โหนฺติ   

ปุน    ปรํ  พฺราหฺมณ  เอตรหิ มนุสฺสา อธมฺมราครตฺตา  วิสมโลภาภิภูตา  มิจฺฉาธมฺมปเรตา เตสํ อธมฺมราครตฺตานํ วิสมโลภาภิภูตานํ    มิจฺฉาธมฺมปเรตานํ    ยกฺขา    วาเฬ    อมนุสฺเส โอสฺสชฺชนฺติ    เตน    พหู    มนุสฺสา   กาลํ   กโรนฺติ   อยํปิ   โข พฺราหฺมณ   เหตุ   อยํ   ปจฺจโย   เยเนตรหิ   มนุสฺสานํ   ขโย  โหติ ตนุตฺตํ    ปญฺญายติ    คามาปิ    อคมา    โหนฺติ   นิคมาปิ   อนิคมา โหนฺติ   นคราปิ   อนครา   โหนฺติ   ชนปทาปิ   อชนปทา  โหนฺตีติ  ฯ

อภิกฺกนฺตํ   โภ   โคตม   ฯเปฯ   อุปาสกํ   มํ  ภวํ  โคตโม  ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตนฺติ ฯ

Google